วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ข่าวประชาสัมพันธ์อำเภอเพ็ญ


อำเภอเพ็ญจัดโครงการข้าวเต็มนา ผู้ว่าพาเกี่ยว
เย็นวานนี้ ( ๑๖.๓๐ น.) นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมโครงการข้าวเต็มนา ผู้ว่าพาเกี่ยวของอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีนายศักดิ์ ชัย แตงฮ่อ นายอำเภอเพ็ญ พร้อมด้วยข้าราชการ ประชาชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้นำรถไปจอดที่โรงเรียนบ้านนาส่อนโพนทัน ก่อนขึ้นรถอีแต็ก ออกเดินทางมายังแปลงนาที่จะทำการเกี่ยวข้าว ซึ่งมีนายเกรียงศักดิ์ หอนงาม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพ็ญ คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนชาวอำเภอเพ็ญร่วมให้การต้อนรับและร่วมเกี่ยวข้าวกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีและคณะ

นายศักดิ์ชัย แตงฮ่อ นายอำเภอเพ็ญ กล่าวว่า อำเภอ ได้จัดทำโครงการข้าวเต็มนา ผู้ว่าพาเกี่ยว ประจำปี ๒๕๕๓ ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูและรักษาไว้ซึ่งประเพณี การลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งประเพณีดังกล่าวนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว ยังเป็นอุบายของคนสมัยก่อนในอันที่จะสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นใน หมู่บ้าน ชุมชนของตน อำเภอเพ็ญได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้จัดทำโครงการข้าวเต็มนา ผู้ว่าพาเกี่ยวขึ้นและได้เรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็นประธานใน พิธีเปิดโครงการในวันนี้ นอกจากนี้ได้นำข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลงไปดำเนินการร่วมกับเกษตรกรและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อำเภอคาดหวังว่าการดำเนินการในครั้งนี้จะเป็นการสร้างความรัก ความผูกพัน ความใกล้ชิด ระหว่างฝ่ายราชการการทั้งภูมิภาคและท้องถิ่น กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในปีนี้ อำเภอได้กำหนดพื้นที่ดำเนินการ ณ บริเวณแปลงนาของ นางบรรจบ ชัยเลิศ บ้านนาส่อน หมู่ที่๓ ตำบลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี พื้นที่ดำเนินการ ๔๑ ไร่ อนึ่งเนื่องจากอำเภอเพ็ญ มีผู้พิการไม่สมประกอบ คือนายนิรันดร์ ลาช้อน ซึ่งโดนเกณฑ์ไปเป็นทหารเมืองหลายปีที่แล้ว ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเวลา ๑๐ ปี เพื่อเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนซึ่งเดือดร้อน นายอำเภอเพ็ญจึงได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีมอบ บัตรเหลือง (บ.ป.๒ ก.)ในโอกาสดังกล่าวด้วย

นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ใน ปัจจุบันชาวนาไทยใช้วิธีการจ้างแรงงานและใช้เครื่องจักรกลเป็นหลักในการทำ นา ทำให้พี่น้องชาวไทยของเรา เปลี่ยนวิถีชีวิตจากชาวนา เป็นผู้จัดการนา ผลที่ตามมาคือมีค่าใช้จ่ายในการทำนาที่สูงขึ้น ทั้งค่าเช่าเครื่องจักรกล ค่ายา ค่าปุ๋ย เมื่อหักต้นทุนออกแล้วทำให้ชาวนาเหลือกำไรไม่มากนัก ซึ่งบางปีผลผลิตที่ได้ไม่ดีพอ หรือประสบกับภัยธรรมชาติ ส่งผลให้มีหนี้สินพอกพูนมากขึ้น การที่อำเภอเพ็ญได้จัดทำโครงการข้าวเต็มนา ผู้ว่าพาเกี่ยว จึงเป็นแนวทางที่ดีที่จะขยายผล การร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนในการลงแขกเกี่ยวข้าวรวมไปถึงต้นฤดูทำ นา ก็อาจเป็นการลงแขกดำนา ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของพี่น้องชาวนา นอกจากนั้นการรณรงค์ให้พี่น้องประชาชนใช้ปุ๋ยอินทรีย์ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี ก็ช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อีกทางหนึ่ง

ผมขอขอบคุณผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้สนับสนุนให้เกิดโครงการนี้ขึ้นและขอให้สานต่อโครงการนี้ตลอดไป เพื่อเป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามนี้ไว้ให้อยู่คู่กับสังคมไทยตราบนานเท่า นาน

ทั้งนี้ภายหลังร่วมกันลงแขกเกี่ยวข้าวแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ร่วมชมการแข่งขันการตีข้าวแบบโบราณ และร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว ร่วมรับประทานอาหารแบบพาเลงกับพี่น้องประชาชนที่มาร่วมงานเกี่ยวข้าวในโอกาส ดังกล่าวด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์อำเภอเพ็ญ


 วันนี้ (5ก.ค.) ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา อุดรธานี เป็นประธานปิดโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สร้างเครือข่ายพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด พร้อมมอบเข็มและวุฒิบัตรแก่แกนนำชาวบ้านบ้านนาพู่ 17 หมู่บ้าน จำนวน 2,000 คน
       
       พ.ต.อ.รักษ์พงศ์ รัตนพงศ์ ผกก.สภ.เพ็ญ เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นนโยบายของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจภูธรภาค 4 ซึ่งมีนโยบายความร่วมมือระหว่างตำรวจกับประชาชนในพื้นที่ร่วมกันต่อสู้กับยาเสพติด ของตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี
       
       โดยนำผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน ผู้มีจิตอาสาเข้าร่วมอบรมจำนวน 2,000 คนเพื่อเป็นการสร้างพลังสังคมและชุมชนชนะยาเสพติด พัฒนาแกนนำหมู่บ้าน ชุมชน ทำหน้าที่เฝ้าระวังป้องกันมิให้เกิดปัญหายาเสพติดในชุมชน
       
       โดยมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ 4 ประการ คือ กายบำบัด จิตบำบัด อาชีวบำบัด และชุมชนบำบัด ตลอดจนการสร้างกฎเหล็กของหมู่บ้านขึ้นมาเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดของยาเสพติดไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน ชุมชนเพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงที่จะติดยาเสพติด
       
       ส่วนผู้ที่ติดยาเสพติดให้ส่งตัวเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูทั้งด้านสภาพร่างกายและจิตใจ ให้โอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองที่ดีของหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ให้หมดไป รวมทั้งสร้างแนวทางการแจ้งข่าวความเคลื่อนไหว หรือพฤติการณ์ของผู้ค้ายาเสพติดเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินการตามกฎหมาย
       
       ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่แกนนำชาวบ้านบ้านนาพู่ได้เข้ารับการอบรม พี่น้องที่อบรมมีความเข้าใจ และให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการปฏิบัติหน้าที่ทำให้หมู่บ้านมีความเข้มแข็ง
       
       สำหรับกิจกรรมโครงการพิธีปิดโครงการในวันนี้ ทางผู้จัดได้นำแกนนำชาวบ้านร่วมกล่าวคำปฏิญาณตน ประกาศสัจจะ และกล่าวประกาศกฎเหล็กข้อห้ามของชุมชน คือ 1. เครือข่ายพลังแผ่นดินจะให้โอกาสแก่ผู้เสพ ถือว่าผู้เสพเป็นผู้หลงผิด โดยจะว่ากล่าวตักเตือน ทำทัณฑ์บน และนำให้ไปบำบัดรักษา
       
       สำหรับผู้ค้า ผู้ขายถือว่าทำลายชาติ และผู้ผลิตถือว่าทรยศต่อแผ่นดิน 2. ถ้าไม่เชื่อฟัง ขัดขืน ต่อต้าน จะถือว่าต่อต้านอำนาจพลังประชาชน จะถูกขับไปออกจากหมู่บ้าน และ 3. ถ้าขับไล่แล้วไม่ออก จะถือว่าท้าทายอำนาจรัฐ เป็นผีปอบยาบ้าทำลายชาติบ้านเมือง ทรยศต่อแผ่นดิน

รองนายกฯ เปิดถนนเลี่ยงเมืองเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เปิดถนนเลี่ยงเมืองเพ็ญอย่างเป็นทางการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนในการสัญจรไปมา ระยะทาง 9.725 กิโลเมตร หลังจากผลักดันงบผ่านสส.อุดรธานี เขต3 สนับสนุนก่อสร้างขยายถนนเส้นทางดังกล่าว ในคราวประชุมครม.สัญจรที่จังหวัดอุดรธานี
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดถนนเพ็ญเทวี ถนนเลี่ยงเมืองเพ็ญ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี โดยมีนายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ,นายอนันต์ ศรีพันธ์ สมาชิสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 ,นายทองดี มนิสสาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีเขต 5 ,พลตำรวจตรีบุญลื้อ กอบางยาง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี ,นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ
นายจิรศักดิ์ ศรีคชา นายอำเภอเพ็ญ กล่าวว่า การก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองเพ็ญ นี้สืบเนื่องมาจากการที่ประชาชนได้ร้องเรียน เรื่องความแออัดของการจราจรบนถนนสายหลักซึ่งผ่านตัวอำเภอ จนส่งผลให้ประชาชนทุกคนที่ใช้ถนนเส้นนี้สัญจรไปมาเพื่อการติดต่อค้าขาย ติดต่อราชการ ท่องเที่ยว ขนส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมผ่านตัวเมืองเพ็ญได้รับความเดือดร้อน การขนส่งสินค้าระหว่างกันเกิดความล่าช้าและสินค้าเสียหายโดยเฉพาะสินค้าเกษตร แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านผังเมืองไม่สามารถขยายทางผ่านย่านชุมชนตัวเมืองเพ็ญได้ ที่ทำการปกครองอำเภอเพ็ญ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเพ็ญ จึงได้ประสานงานสำนักทางหวงชนบทจังหวัดอุดรธานี ในการสำรวจออกแบบจัดทำโครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองเพ็ญ เพื่อระบายความแออัดของการจราจรที่ต้องวิ่งผ่านเขตชุมชน โดยประสานนายอนันต์ ศรีพันธ์ สมาชิสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 ให้เป็นผู้ประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งในคราวประชุม ค.ร.ม.สัญจร ณ จังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ.2555 ได้ให้ความกรุณาจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี สนับสนุนงบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างขยายถนนเลี่ยงเมืองเพ็ญ ระยะทางประมาณ 9.725 กิโลเมตร แบ่งออกเป็นงานก่อสร้างผิวจราจรแอสฟัลท์ติก การเสริมผิวจราจรแอสฟัลท์ติก และการก่อสร้างสะพาน คสล.2แห่ง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อำเภอเพ็ญเป็นศูนย์กลางการเดินทางไปอำเภออื่นๆและเป็นทางลัดไปดูบั้งไฟพญานาคที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายและเป็นเส้นทางโลจิสติกส์รัฐบาลโดยการนำของพรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีรายได้ที่สูงขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการค้าขายด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วน

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทศบาลตำบลเพ็ญและสถานที่สำคัญ

เทศบาลตำบลเพ็ญ

ตลาดสดอำเภอเพ็ญ

สถานที่ท่องเที่ยวพระธาตุนางเพ็ญ



ศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธ



งานเทศกาลตะไลล้าน

งานบุญบั้งไฟ


























แผนที่อำเภอเพ็ญ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

>>ข้อดีของเทศบาลตำบลเพ็ญ<<

มียุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหารจัดการที่

>>ข้อดีของเทศบาลตำบลเพ็ญ<<

>>การบริการพื้นฐาน<<

การคมนาคม
เทศบาลตำบลเพ็ญ มีสถานีขนส่งโดยสารในเขตเทศบาลซึ่งบริการด้านการคมนาคม กับพื้นที่จังหวัด อำเภอ และตำบลใกล้เคียง โดยมีรถโดยสารประจำทางสายหลักอยู่ 2 สาย มีรถบัสโดยสารและรถโดยสารขนาดเล็ก(สองแถว) ให้บริการอย่างเพียงพอ รวมทั้งมีรถสามล้อเครื่องรับจ้างอยู่เป็นจำนวนมาก ในส่วนของเส้นทางการคมนาคมระหว่างจังหวัด มี 2 เส้นทางหลัก คือ
1) สาย เพ็ญ – บ้านด่าน – อุดรธานี
2) สาย เพ็ญ – บ้านนิคม – อุดรธานี

การไฟฟ้า
กิจการไฟฟ้า มีสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาเพ็ญ ให้บริการกับประชาชน ในเขตเทศบาลอย่างเพียงพอ ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้หมดแล้ว

การประปา
กิจการประปาในเขตเทศบาลตำบลเพ็ญ ขึ้นอยู่กับการประปาส่วนภูมิภาค อำเภอบ้านดุงซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการระบบประปาและจำหน่ายประปาให้กับประชาชน ครัวเรือนส่วนใหญ่มีน้ำประปาใช้อย่างเพียงพอ

การโทรคมนาคม
กิจการไปรษณีย์โทรเลขในเขตเทศบาลตำบลเพ็ญ มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง ให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง มีองค์การโทรศัพท์ จำนวน 1 แห่ง

การใช้ที่ดิน
พื้นที่ดินเขตเทศบาลตำบลเพ็ญ มีทั้งสิ้น 1.48 ตารางกิโลเมตร สามารถแยกประเภทได้ดังนี้
1) เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือผู้มีสิทธิครอบครอง
2) ที่เอกชน
3) ที่วัด
4) ที่ของทางราชการ(ที่ราชพัสดุ , ที่สาธารณประโยชน์
5) การใช้ที่ดินเนื้อที่ส่วนมากใช้เป็นที่ประกอบการค้าและที่อยู่อาศัย

การจราจร
เนื่องจากในเขตเทศบาลตำบลเพ็ญ มีเส้นทางสายหลักผ่านชุมชนเพียงเส้นทางเดียว ทำให้การจราจรติดขัดมีปัญหาอยู่พอสมควร เนื่องจากประชาชนมักจะจอดรถบริเวณสองข้างถนนมักเกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ ๆ

>>ข้อจำกัดของเทศบาลตำบลเพ็ญ<<

อัตรากำลังพนักงานเทศบาลตำบลเพ็
1.พนักงานจ้างทั่วไป 9 คน
2.พนักงานจ้างธุรกิจ 18 คน
3.ลูกจ้างประจำ 8 คน
4.ข้าราชการ 21 คน
รวม 56 คน

(เทศบาลตำบลเพ็ญเป็นหน่วยงานเล็ก มีพนักงานน้อย)

>>อุปสรรคที่จะมากระทบ<<

ในพื้นที่บางส่วนของอำเภอเพ็ญนั้นยังมีความแห้งแล้ง และยังขาดเทคโนโลยีในการพัฒนาบางส่วน จึงต้องอาศัยสภาพดินฟ้าอากาศและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการพัฒนา

>>โอกาสความเป็นไปได้ในธุรกิจ<<

อำเภอเพ็ญมีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมและการประกอบอาชีพการเกษตรกรรม เช่น การทำนาและการปลูกพืชผักสวนครัว

>>วัตถุประสงค์ในการพัฒนาหน่วยงานเทศบาลตำบลเพ็ญ<<

1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกให้ได้มาตรฐาน
2. จัดให้มีและบำรุงรักษาขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ , โทรศัพท์ ลงสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง
3. จัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรรวมถึงจัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร
4. จัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายรวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับเล่นกีฬา
5. จัดให้มีและพัฒนาการบริหารจัดการการบริการประชาชนแบบ nonstop service ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
6. มีการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
7. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัย
8. ประชาชนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพจากรัฐอย่างทั่วถึง
9. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
10. จัดสวัสดิการสังคม
11. ส่งเสริมให้พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างได้มีการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่
12. พัฒนาสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆให้ทันเทคโนโลยี รวมทั้งบุคลากรให้พร้อมที่จะตอบสนองภารกิจของเทศบาล
13. ส่งเสริมให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย
14. ปรับปรุงมาตรการในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน
15. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี
16. ส่งเสริมให้มีสวัสดิการของบุคลากรท้องถิ่น
17. จัดให้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อบริการประชาชนอย่างทั่วถึงและทันสมัย
18. การจัดการบริหารเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพและทันเทคโนโลยี
19. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและเครื่องมือเครื่องใช้ ในการเรียน การสอนให้ทันสมัยและเพียงพอแก่ความต้องการ
20. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
21. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
22. ฟื้นฟูและบำรุงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
23. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพเสริมให้ประชาชน

>>แผนประจำปี<<

1. ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี
แผนพัฒนาสามปี เป็นการแปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ โดยมีหลักคิดว่า ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่ง ๆ จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหนึ่งแนวทาง และภายใต้แนวทางหนึ่งจะมีโครงการ/กิจกรรม ได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรม ที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์เป้าหมาย จุดมุ่งหมายอย่างยั่งยืน และวิสัยทัศน์ในที่สุดแผนพัฒนาสามปี เป็นแผนที่มีความใกล้ชิดกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี กล่าวคือ เทศบาลใช้การวางแผนพัฒนา เป็นเครื่องมือในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยนำโครงการ/กิจกรรมจากแผนพัฒนาสามปี ในปีที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไปจัดทำงบประมาณ เพื่อให้กระบวนการจัดทำงบประมาณเป็นไปด้วยความรอบคอบและผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
การจัดทำแผนพัฒนาสามปี มีวัตถุประสงค์โดยรวม เพื่อนำแผนพัฒนาไปดำเนินการปรับปรุง และปฏิบัติตามแผน ทั้งทางด้านการบริการสาธารณะ โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการบริหาร สิ่งแวดล้อม การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างครอบคลุมและทั่วถึง จึงกำหนดวัตถุประสงค์ไว้
ดังนี้
1) เพื่อกำหนดสภาพการพัฒนาที่พึงประสงค์ หรือเป้าหมายการพัฒนาของเทศบาลตำบลเพ็ญตามปัญหา ความต้องการของประชาชน
2) เพื่อเชื่อมโยงนโยบายของรัฐบาล กระทรวง จังหวัด อำเภอ และท้องถิ่นอื่น ได้อย่างเป็นระบบ
3) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณของเทศบาลตำบลเพ็ญ ได้อย่างทั่วถึงและเป็นไปตามความจำเป็นเร่งด่วน อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการและกิจกรรมการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
3. ขั้นตอนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
เมื่อเทศบาลจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติโดยการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ซึ่งมีขั้นตอนการจัดทำ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดทำแผน
1. หน่วยงานผู้รับผิดชอบการจัดทำแผน เข้าพบผู้บริหารเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ ความสำคัญและความจำเป็น ในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงภารกิจที่จะดำเนินการต่อไปและเสนอโครงการการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ห้วงปี พ.ศ. 2557 – 2559 ผ่านหัวหน้าหน่วยงาน/ปลัดเทศบาลให้ผู้บริหารอนุมัติโครงการดังกล่าว จะเป็นการกำหนดทรัพยากรในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีและกำหนดปฏิทินการทำงานไว้อย่างชัดเจน
2. หน่วยงานรับผิดชอบแจ้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล หน่วยงานภายในของเทศบาลผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชน
ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
1. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา สรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พร้อมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ปัญหาความต้องการของเทศบาลรวมทั้งสรุปยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด/อำเภอและนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล
2. คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลประชาคมและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพิจารณา โดยในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีในครั้งแรก ให้เวทีการประชุมร่วมกันคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา แนวทางการพัฒนาที่ควรนำมาใช้เป็นแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาสามปี เพื่อเป็นกรอบในการพิจารณาจัดทำโครงการ/กิจกรรมในแผนพัฒนาสามปี
3. เมื่อได้แนวทางการพัฒนาแล้ว เวทีการประชุมร่วมพิจารณาว่าโครงการ/กิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแนวทางการพัฒนาที่คัดเลือกมาใช้เป็นกรอบในการพัฒนา
ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล สำรวจและรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดทำแผนพัฒนาสามปี เพื่อนำมาวิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการพัฒนา โครงการ/กิจกรรมได้อย่างถูกต้อง
2. การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย
1) การประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา
2) การคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนา
3) การจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนา
4) การตัดสินใจเลือกแนวทางการพัฒนาในห้วงสามปี
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา
1. เมื่อได้แนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีแล้วให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา โดยพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี และนำวัตถุประสงค์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี
2. ที่ประชุมพิจารณากำหนดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา ซึ่งจะพิจารณาจากประเด็น
ดังต่อไปนี้
1) กิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาที่กำหนด
อย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้โครงการ/กิจกรรมที่ครบถ้วน
2) พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม
3) พิจารณาถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรม ในด้านกระบวนการดำเนินงานและผลของ
การดำเนินการ
4) พิจารณาคัดเลือกโครงการ/กิจกรรม
- จากความจำเป็นเร่งด่วน
- ขีดความสามารถทางทรัพยากรการบริหารของเทศบาลความเชื่อมโยงของกิจกรรม
และระยะเวลา
ขั้นตอนที่ 5 การจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมการพัฒนา
คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล พิจารณาคัดเลือกโครงการที่สอดคล้อง กับ แนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี มาจัดทำรายละเอียดโครงการ ในด้านเป้าหมาย ผลผลิต ผลลัพธ์งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบและตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยเน้นรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีแรกของแผนพัฒนาสามปี เพื่อนำไปจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ขั้นตอนที่ 6 การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี
1. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล จัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี
2. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล จัดเวทีประชาคมประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาเทศบาล ประชาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาสามปี และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะนำไปปรับปรุงแผนพัฒนาสามปีให้สมบูรณ์
3. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลพิจารณา
ขั้นตอนที่ 7 การอนุมัตแิ ละประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี
1. คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล พิจารณาร่างแผนพัฒนาสามปี เพื่อเสนอผู้บริหารเทศบาล
2. ผู้บริหารนำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลมาพิจารณาอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปีให้ประชาชนได้ทราบโดยทั่วกัน
3. เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาสามปีแล้ว ให้ผู้บริหารท้องถิ่นส่งแผนพัฒนาสามปีให้
คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับจังหวัดต่อไ
4. ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี
1. แผนพัฒนาสามปี เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เทศบาลได้พิจารณาอย่างรอบคอบให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆ ที่อาจมีความเชื่อมโยงและส่งผลทั้งในเชิงสนับสนุน และเป็นอุปสรรคต่อกัน
2. เพื่อให้เทศบาลนำมาตัดสินใจกำหนดแนวทางการดำเนินงานและใช้ทรัพยากรการบริหารของเทศบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะสูงสุด

>>นโยบายในการพัฒนาเทศบาลตำบลเพ็ญ<<

1. นโยบายด้านการเศรษฐกิจ
มุ่งส่งเสริมและพัฒนาด้านการเศรษฐกิจโดยรวมของเทศบาล ให้ประชาชนทั่วไปมีรายได้เพิ่มขึ้นและลดอัตราการอพยพแรงงานไปทำงานที่อื่นและขจัดปัญหาความยากจนเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และส่งเสริมสนับสนุนอาชีพรองหรืออาชีพที่เสริมสร้างรายได้ให้กับราษฎรเพิ่มขึ้น โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพให้มีรายได้เสริม สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
1.2 ส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรโดยให้การสนับสนุนการผลิตและการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี
1.3 ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้ใช้ประโยชน์สูงสุด
1.4 สนับสนุนให้มีถนนและไฟฟ้าเพื่อการเกษตรอย่างทั่วถึง
1.5 ส่งเสริมการประกอบอาชีพและการดำรงชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2. นโยบายด้านสังคม
มุ่งพัฒนาสภาพสังคมโดยรวมของเทศบาลให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้สังคมของเทศบาลตำบลเพ็ญ เป็นสังคมที่มีคุณภาพและมุ่งพัฒนาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
2.1 สนับสนุนนโยบายด้านการปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพลของภาครัฐอย่างจริงจัง
2.2 ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์
2.3 ส่งเสริมกิจกรรมด้านการกีฬาทุกระดับ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านสุขอนามัยและการป้องกันยาเสพติด
2.4 ให้การสงเคราะห์ผู้พิการ คนชรา และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถพึ่งตนเองได้
2.5 จัดให้มีไฟฟ้าส่องสว่างอย่างเพียงพอทุกชุมชน
2.6 สนับสนุนงานด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.7 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานของประชาคมหมู่บ้านและชุมชนเทศบาลให้ เพียงพอ
2.8 สนับสนุนงบประมาณให้แก่ชุมชนในเขตเทศบาล

3. นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
มุ่งสร้างพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เทศบาลให้ได้รับความสะดวกและเพียงพอประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
3.1 ปรับปรุงและก่อสร้างตลาดสดใหม่เป็นระเบียบและถูกสุขอนามัย
3.2 จัดให้มีและบำรุงรักษาซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาลให้ได้รับความสะดวกสบายในการสัญจรไปมาทุกฤดูกาล รวมทั้งถนนลูกรังไปในพื้นที่การเกษตร
3.3 จัดให้มีและบำรุงรักษาถนนปลอดฝุ่นภายในเขตเทศบาลให้เพียงพอ
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ในการขนถ่ายสินค้าทางการเกษตรระหว่างชุมชนเทศบาลหรือระหว่างหมู่บ้านหรือระหว่างตำบล โดยประสานงานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
3.6 ส่งเสริมสนับสนุนให้มีน้ำสะอาด เพื่อการอุปโภคและบริโภคให้เพียงพอ
3.7 จัดให้มีไฟฟ้าส่องสว่างตามถนน/ซอยในเขตเทศบาล และตามแนวนโยบายของรัฐบาล

4. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มุ่งพัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของเทศบาล ให้เป็นเทศบาลที่ปราศจากปัญหามลพิษมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมดุล โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
4.1 ปรับปรุงที่ทิ้งขยะและการกำจัดขยะให้ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ
4.2 จัดให้มีรถเก็บขยะตามหมู่บ้านและชุมชนให้ได้มาตรฐาน รวดเร็วและทันสภาพการณ์
4.3 จัดให้มีถังรองรับขยะให้เพียงพอทุกหมู่บ้าน/ชุมชน
4.4 ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าขยะโดยการแยกขยะอินทรีย์ เพื่อนำไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภา
4.5 ส่งเสริมและรณรงค์การลดปริมาณขย
4.6 ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตเทศบาลทุกชุมชนให้สะอาดและน่าอยู่อาศัย
4.7 สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์สุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกชุมชน
4.8 ส่งเสริมและจัดให้มีแหล่งท่องเที่ยวในเขตเทศบาล รวมทั้งจัดให้มีที่พักผ่อนหย่อนใจในเขตชุมชนเทศบาล

5. นโยบายด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
มุ่งพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ของเทศบาลตำบลเพ็ญ ในทุกระดับให้มีคุณภาพ สามารถพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมศาสนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้
5.1 พัฒนาปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่เทศบาลตำบลเพ็ญให้มีคุณภาพสามารถเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนวัยเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนโรงเรียนในพื้นที่เทศบาล ทุกโรงเรียน ให้มีสื่อวัสดุการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ ทันสมัย ตามกำลังงบประมาณของเทศบาล
5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของศาสนสถาน สถานที่ประกอบพิธีการทางศาสนา เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน
5.4 ส่งเสริมสนับสนุนศิลปการแสดงพื้นบ้านเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป
5.5 ส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น โดยการตั้งงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวตามสมควรและความจำเป็น

6. นโยบายด้านการบริหารจัดการ
มุ่งพัฒนาการบริหารงานของสำนักงานเทศบาลตำบลเพ็ญ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและการให้บริการประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ โดยมีการบริหารงานดังต่อไปนี้
6.1 ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการให้บริการประชาชน ให้สามารถให้บริการประชาชนในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ทั้งนี้จะต้องลดเวลาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในทุกๆ เรื่องในการบริการประชาชน โดยให้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ลดลงได้อย่างชัดเจน
6.2 ปรับปรุงพัฒนาการให้บริการประชาชน โดยการปรับทัศนคติของพนักงาน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเทศบาลตำบลเพ็ญ ให้มองประชาชนผู้มารับบริการเหมือนลูกค้าต้องบริการอย่างรวดเร็ว สะดวกและให้การบริการที่สุภาพอ่อนน้อม เพื่อประชาชนพึงพอใจและให้ความร่วมมือกับสำนักงานเทศบาลในการปฏิบัติงาน
6.3 พัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อรองรับการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก
6.4 จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
6.5 บริหารงานให้มีความโปร่งใส การมีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบได้ในทุกๆ เรื่อง

7. นโยบายด้านการสาธารณสุข
มุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเรื่องสาธารณสุข ให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเพ็ญ เป็นเทศบาลที่มีประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีและได้รับการบริการด้านสาธารณสุขที่ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีนโยบายการบริหารงานดังต่อไปนี้
7.1 สนับสนุนและส่งเสริมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการสาธารณสุข
7.2 จัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่เหมาะสม
7.3 เร่งรัดควบคุมโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชนเทศบาล
7.4 ส่งเสริมการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างของหน่วยงานเทศบาลตำบลเพ็ญ


พันธกิจหลักการพัฒนา

เพื่อให้การวางบทบาทการพัฒนาของเทศบาลตำบลเพ็ญในอนาคตดำเนินไปภายใต้วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องกำหนดพันธกิจของเทศบาล ที่จะต้องดำเนินการโดยสนับสนุนและเชื่อมโยงกัน สำหรับพันธกิจที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลเพ็ญ มีดังนี้
1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกให้ได้มาตรฐาน
2. จัดให้มีและบำรุงรักษาขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ , โทรศัพท์ ลงสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง
3. จัดให้มีและบำรุงรักษาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรรวมถึงจัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร
4. จัดให้มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายรวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับเล่นกีฬา
5. จัดให้มีและพัฒนาการบริหารจัดการการบริการประชาชนแบบ nonstop service ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
6. มีการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี
7. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัย
8. ประชาชนได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสุขภาพจากรัฐอย่างทั่วถึง
9. เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
10. จัดสวัสดิการสังคม
11. ส่งเสริมให้พนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างได้มีการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่
12. พัฒนาสถานที่ปฏิบัติงาน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆให้ทันเทคโนโลยี รวมทั้งบุคลากรให้พร้อมที่จะตอบสนองภารกิจของเทศบาล
13. ส่งเสริมให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย
14. ปรับปรุงมาตรการในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน
15. ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณี
16. ส่งเสริมให้มีสวัสดิการของบุคลากรท้องถิ่น
17. จัดให้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อบริการประชาชนอย่างทั่วถึงและทันสมัย
18. การจัดการบริหารเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพและทันเทคโนโลยี
19. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและเครื่องมือเครื่องใช้ ในการเรียน การสอนให้ทันสมัยและเพียงพอแก่ความต้องการ
20. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
21. อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
22. ฟื้นฟูและบำรุงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
23. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพเสริมให้ประชาชน